Share

เรื่องควรรู้ ที่มาของเสียงสะท้อนในบ้าน แก้ไขอย่างไรให้ถูกต้อง

เรื่องควรรู้ ที่มาของเสียงสะท้อนในบ้าน แก้ไขอย่างไรให้ถูกต้อง

ปัญหาเสียง ที่พบในการเข้าอยู่อาศัยในบ้านที่สร้างความหงุดหงิดหัวใจคือ ปัญหาเสียงก้อง เสียงสะท้อน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการสื่อสารลดลงไปมาก ซึ่งปัญหานี้จะเห็นได้ชัดสำหรับห้องที่มีขนาดกว้างใหญ่ สาเหตุของเสียงสะท้อนในบ้านมาจากอะไร ถ้าเกิดขึ้นกับบ้านเราแล้วจะมีวิธีแก้ไขหรือไม่ อาร์ต เทค โฮม รับสร้างบ้านหรู จะมาไขข้อสงสัยให้ทราบกัน

เสียงสะท้อนเกิดจากอะไร

สาเหตุหลักของการเกิดเสียงสะท้อน เป็นเรื่องเกี่ยวกับพื้นผิวของวัสดุต่างๆ ภายในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง ฝ้าเพดาน เฟอร์นิเจอร์ หรือของตกแต่ง ซึ่งวัสดุทุกชนิดมีความสามารถในการดูดซับเสียงในระดับที่แตกต่างกัน เมื่อเสียงตกกระทบกับวัตถุ เสียงบางส่วนจะถูกดูดซับไว้และจะมีบางส่วนที่สะท้อนกลับออกมา เราจะรู้สึกถึงเสียงก้องอย่างชัดเจนเมื่ออยู่ในห้องโล่งที่ไร้เฟอร์นิเจอร์ เพราะไม่มีสิ่งของมาช่วยดูดซับเสียงทำให้เสียงสะท้อนผนังกลับไปกลับมานั่นเอง

โดยปกติการป้องกันเสียงก้องหรือเสียงสะท้อนที่ดีที่สุดคือ การบุผนังและเพดานด้วยแผ่นซับเสียง แต่วิธีดังกล่าวจะเหมาะกับห้องบันทึกเสียงหรือห้องดูหนังมากกว่าบ้านพักอาศัย เพราะการติดตั้งแผ่นซับเสียงอาจสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น ดังนั้นลองมาดูแนวทางแก้ไขเสียงสะท้อนวิธีการอื่นๆ ที่ทำได้ง่ายและประหยัดงบประมาณกัน

1. ปิดช่องโหว่รอบผนังบ้าน ช่องว่างด้านบนและใต้ประตู

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกันเสียงรบกวน ต้องปิดรอยต่อระหว่างประตู-หน้าต่าง ให้แนบสนิทที่สุด รวมไปถึงช่องว่างระหว่างประตูกับพื้นบ้าน ช่องว่างระหว่างวงกบหน้าต่าง รวมทั้งตรวจสอบรอยร้าวบริเวณผนัง เพราะเสียงอาจจะเล็ดลอดผ่านเข้ามาได้ทุกช่องทาง

2. เปลี่ยนหน้าต่างแบบเดิมเป็นรุ่นปิดสนิท

รูปแบบของหน้าต่างและวัสดุที่นำมาใช้ เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการรับเสียง ควรเลือกหน้าต่างที่มีรอยต่อน้อยและปิดสนิท เช่น หน้าต่างกรอบอลูมิเนียม บานกระจก จะช่วยป้องกันเสียงได้ดีกว่าหน้าต่างกรอบไม้และบานไม้ ส่วนรูปแบบหน้าต่างที่กันเสียงได้ดี เป็นหน้าต่างบานสไลด์เลื่อน กระทุ้ง พร้อมกับติดขอบกันเสียง แต่หากเป็นหน้าต่างบานเกล็ด คุณสมบัติป้องกันเสียงจะลดน้อยลง

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับบ้าน

3. ฝ้าเพดานขาดไม่ได้

การติดฝ้าเพดานเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยป้องกันเสียงสะท้อนได้อีกทาง ยิ่งถ้าบนฝ้ามีการติดตั้งฉนวนกันร้อนด้วย ฉนวนดังกล่าวแม้คุณสมบัติหลักจะไม่ได้ป้องกันเสียงแต่ก็ช่วยซับเสียงแถมมาให้ด้วย จึงได้ประโยชน์ทั้งกันร้อนและกันเสียงไปในตัว

4. เลือกติดวอลเปเปอร์ตกแต่งผนังแบบหนา

การติดวอลเปเปอร์ (Wallpaper) เพื่อตกแต่งผนังให้มีความสวยงามแล้ว วอลเปเปอร์บางรุ่นยังทำหน้าที่ช่วยดูดซับลดเสียงรบกวนได้ด้วย เช่น วอลเปเปอร์ 3D ที่มีลายนูนสูงต่ำ วอลเปเปอร์แบบหนาชนิด PE Foam ด้วยเนื้อโฟมที่หนานุ่มจึงช่วยซับเสียงก้อง ลดทอนเสียงรบกวนจากบริเวณใกล้เคียงได้ดี

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับบ้าน

5. ผ้าม่านอีกหนึ่งตัวช่วยซับเสียง

ผ้าม่าน ที่ติดตั้งเพื่อช่วยบังสายตาและกั้นกรองแสง ยังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ใช้ดูดซับเสียงได้เช่นกัน วิธีเลือกคือใช้ผ้าเนื้อดีมีความหนา จึงจะมีความสามารถซับเสียงก้องได้ดี และในปัจจุบันผ้าม่านยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการทอผ้าที่ช่วยให้ผ้ามีน้ำหนักเบาและดูดซับเสียงได้มากกว่าเดิมหลายเท่าอีกด้วย

6. ติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ Buit-in 

ห้องที่โล่งจะทำให้เกิดเสียงก้องมากกว่าห้องที่ตกแต่งแล้ว เพราะเฟอร์นิเจอร์และข้าวของตกแต่งต่างๆ จะช่วยดูดซับเสียงนั่นเอง หากห้องโล่งเสียงที่เกิดขึ้นภายในห้องจะสะท้อนผนังห้องไปมา ดังนั้นวิธีการลดทอนการหักเหของคลื่นเสียงทำได้ง่ายๆ เช่น การติดตั้งชั้นลอยสำหรับวางของ หรือติดตั้ง Built-in ชั้นวางทีวีหรือชั้นหนังสือ ตู้เสื้อผ้าขนาดใหญ่ปิดทับผนังไว้ก็จะช่วยลดทอนเสียงได้กว่าเดิม

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นแนวทางแก้ปัญหาสำหรับบ้านที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่สำหรับบ้านที่ยังไม่สร้างก็มีวิธีป้องกันเสียงก้องที่สามารถทำได้ในขั้นตอนการก่อสร้างบ้านอีกหลายวิธี แล้วแต่แบบบ้านและแนวทางการก่อสร้างที่แต่ละบริษัทรับสร้างบ้านจะเลือกมาปรับใช้ให้เหมาะกับบ้านแต่ละหลัง ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจสร้างบ้านแนะนำให้หาข้อมูลบริษัทรับสร้างบ้านให้ละเอียด เพื่อคัดสรรบริษัทรับสร้างบ้านที่มีประสบการณ์ มีมาตรฐานการทำงานสูง เพื่อให้ได้บ้านที่สอดคล้องกับความต้องการของเราอย่างแท้จริง ซึ่งสามารถดูรายชื่อบริษัทรับสร้างบ้านหรู ได้จากสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน แหล่งรวมบริษัทรับสร้างบ้านคุณภาพสูง

สนใจสร้างบ้านหรูกับ บริษัท อาร์ต เทค โฮม จำกัด

Tel. : 0 2804-1515

E-mail : SALES@ART-TECH.CO.TH

Facebook : arttechhome

Home Style

Share post: